Evil Eye นัยน์ตาปิศาจ เครื่องรางของขลังจากตุรกี

หลังจากเจอบล๊อกเรื่องดูจริงจังหลายเรื่อง ตอนนี้ขอมาเขียนแบบคลายเครียดและให้ความรู้สักเล็กน้อยกันบ้างดีกว่าคะ จริงๆเจ้า evil eye นี่นุทได้เคยเห็นมานานแล้วละคะ แต่ก็แบบเป็นของฝากจากผู้ที่ไปเที่ยวจากตุรกีมา แล้วก็เอามาใส่ หรือแขวนที่บ้านแบบไม่ได้มีความรู้อะไรเลย แต่ครั้งนี้ ได้พี่ใจดีจากในเฟสบุคท่านหนึ่งซึ่งบอกตามตรงเลยว่าไม่ได้รู้จักกันมาก่อน แต่พี่ @maenongson เห็นเราชอบแหวนที่พี่เค้าใส่ เลยกรุณาส่งมาให้ ขอบคุณนะคะ

เมื่อเราจะใส่ ก็ควรหาความรู้กันหน่อยไหมคะว่า มันคืออะไรเป็นอย่างไร นุทก็ได้หาข้อมูลจาก วิกิพีเดีย ข้อมูลครบมากคะ เลยอยากเอามาแชร์ให้เพื่อนๆได้รับรู้กัน

นัยน์ตาปีศาจ (อังกฤษ: Evil eye) เป็นการมองที่เชื่อกันในหลายวัฒนธรรมว่าสามารถทำให้ผู้ถูกมองได้รับการบาดเจ็บหรือโชคร้าย อันเกิดจากการจ้องมองด้วยความอิจฉาหรือความเดียดฉันท์ คำนี้มักจะหมายถึงอำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในการก่อให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายได้ด้วยการมองอย่างประสงค์ร้าย

ความเชื่อดังกล่าวทำให้วัฒนธรรมหลายวัฒนธรรมพยายามหาทางป้องกันก่อนที่จะเกิดสิ่งที่เลวร้ายขึ้น ความคิดและความสำคัญของนัยน์ตาปีศาจก็แตกต่างกันออกไปเป็นอันมากระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ ความเชื่อนี้ปรากฏหลายครั้งในบทแปลของพันธสัญญาเดิม และแพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางในบรรดาอารยธรรมของกลุ่มชนต่าง ๆ ในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน กรีซคลาสสิกอาจจะเรียนรู้จากอียิปต์โบราณ และต่อมาก็ผ่านความเชื่อนี้ต่อไปยังโรมันโบราณ

ลักษณะของความเชื่อ

อิลยา เรพิน, “มุซฮิคกับนัยน์ตาปีศาจ” (ค.ศ. 1877)

แนวความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับนัยน์ตาปีศาจเชื่อว่าคนบางคนสามารถนำอันตรายมายังผู้อื่นได้ด้วยการจ้องด้วยตาที่มีเวทมนตร์ที่ประสงค์ร้าย แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นการจ้องด้วยความอิจฉา และความรุนแรงของอันตรายต่อผู้ที่ถูกจ้องก็ต่างกันออกไป ในบางวัฒนธรรมก็กล่าวว่าผู้ถูกจ้องจะประสบกับโชคร้าย หรือในกรณีอื่นก็เชื่อว่าการจ้องจะทำให้ผู้ถูกจ้องป่วย และบางครั้งอาจจะมีอาการหนักถึงเสียชีวิตได้ ในวัฒนธรรมเกือบทุกวัฒนธรรมเหยื่อของเวทมนตร์ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าจะเป็นเด็กหรือทารก เพราะเด็กมักจะได้รับการเยินยอสรรเสริญจากคนแปลกหน้า หรือ จากสตรีที่ไม่มีบุตร แอแลน ดันด์สศาสตราจารย์สาขาวิชาตำนานพื้นบ้านแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อนี้ในวัฒนธรรมต่างๆ และพบว่ามีพื้นฐานร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งที่ว่าการแก้เคล็ดจะเกี่ยวกับการทำให้ชื้น และ การป้องกันจากภัยของการถูกมนต์ขลังของนัยน์ตาปีศาจ ที่ทำได้ด้วยปลาในบางวัฒนธรรมมีความเกี่ยวโยงกับปลาจะเปียกอยู่ตลอดเวลา ดันด์สข้อสังเกตตังกล่าวใน “Wet and Dry: The Evil Eye

ความเชื่อเกี่ยวกับนัยน์ตาปีศาจในรูปแบบหนึ่งกล่าวว่า ผู้หนึ่งตามปกติแล้วจะมิได้เป็นผู้มีความประสงค์ร้ายต่อผู้ใดอาจจะมีอำนาจในการทำร้ายผู้ใหญ่, เด็ก, สัตว์เลี้ยง หรือ สิ่งของได้โดยเพียงแต่จ้องด้วยความอิจฉา คำว่า “Evil” อาจจะเป็นคำที่ทำให้เข้าใจผิดในบริบทนี้ เพราะเป็นคำที่มีนัยยะว่าบุคคลดังกล่าวจงใจที่จะ “แช่ง” ผู้โชคร้าย ความเข้าใจในความคิดเกี่ยวกับ “evil eye” ให้ดีขึ้นอาจจะมาจากคำภาษาอังกฤษสำหรับการจ้องมองด้วยนัยน์ตาปีศาจที่เรียกว่า “overlooking” ที่เป็นนัยยะว่าเป็นการจ้องอย่างจงใจเป็นเวลานานกว่าเหตุต่อสิ่งที่ประสงค์จะจ้องไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์เลี้ยง หรือ สิ่งของ

ขณะที่วัฒนธรรมบางวัฒนธรรมเชื่อว่านัยน์ตาปีศาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไม่ได้ตั้งใจโดยผู้ที่โชคร้ายพอที่จะถูกแช่งโดยอำนาจที่มาจากการจ้องมอง แต่กระนั้นก็มีผู้ที่เชื่อว่าเป็นอำนาจที่เกิดขึ้นที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างจงใจแต่ก็เป็นอำนาจที่มาจากความอิจฉา

ประวัติ

หลักฐานทางลายลักษณ์อักษรและหลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่าความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจทางตะวันออกของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนดำเนินมาเป็นเวลาหลายพันปี ที่เริ่มด้วย เฮซิโอดคาลลิมาคัสเพลโตดิโอโดรัส ซิคัลลัสธีโอคริตัสพลูทาร์คพลินิ และ ออลัส เกลลิอัส ในงานเขียน “Envy and the Greeks” (ไทย: ความอิจฉาและชาวกรีก) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1978) ปีเตอร์ วอลค็อทกล่าวถึงงานอ้างอิงกว่าร้อยชิ้นของนักประพันธ์ผู้เขียนงานเกี่ยวกับนัยน์ตาปีศาจ การศึกษางานอ้างอิงเหล่านี้เพื่อทำการเขียนเกี่ยวกับนัยน์ตาปีศาจก็ยิ่งทำให้มองเห็นภาพที่ขาดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจากมุมมองของตำนานพื้นบ้าน, เทววิทยา, คลาสสิก หรือ มานุษยวิทยา ขณะการเขียนจากแนวต่างๆ เหล่านี้มักจะอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลที่ใกล้เคียงกัน แต่กระนั้นแหล่งข้อมูลแต่ละแหล่งก็จะมีมุมมองของความเข้าใจนัยน์ตาปีศาจที่ต่างกันออกไป ที่ว่าเป็นความเชื่อที่ว่าบุคคลบางคนมีตาที่มีอำนาจในการก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือความตายแก่ผู้ที่ถูกจ้องมองได้ไม่ว่าจะโดยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

นัยน์ตาปีศาจในสมัยคลาสสิก

ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจในสมัยโบราณมีพื้นฐานมาจากหลักฐานของแหล่งข้อมูลเช่น อริสโตฟานีสเอเธเนียส และ พลูทาร์ค และยังมีผู้คาดกันว่าโสกราตีสเป็นผู้มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ และผู้ติดตามและผู้ชื่นชมในตัวโสกราตีสต่างก็หลงเสน่ห์จากการจ้องมองอย่างเอาจริงเอาจังของโสกราตีส ลูกศิษย์ของโสกราตีสเรียกกันว่า “Blepedaimones” ที่แปลว่าการมองอย่างดีมอน (demon) ไม่ใช้เพราะเป็นผู้ที่ถูกสิงหรือมีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ แต่เพราะถูกสงสัยว่าเป็นผู้ที่ตกอยู่ภายใต้การสะกดจิตและอันตรายจากการชักจูงของโสกราตีส

ในสมัยกรีก-โรมันคำอธิบายอย่างมีเหตุผลของอำนาจของนัยน์ตาปีศาจเป็นสิ่งที่ปรากฏทั่วไป คำอธิบายของพลูทาร์คกล่าวว่าตาคือสิ่งที่สำคัญที่สุดถ้าไม่เป็นสิ่งเดียว ที่เป็นที่มาของรังสีที่เป็นอันตรายที่พุ่งออกมาราวกับศรพิษจากส่วนลึกของบุคคลผู้เป็นเจ้าของอำนาจของนัยน์ตาปีศาจ (Quaest.Conv. 5.7.2-3=Mor.80F-81f) พลูทาร์คกล่าวถึงอำนาจของนัยน์ตาปีศาจว่าเป็นสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งไม่อาจจะอธิบายได้ที่เป็นแหล่งของอำนาจอันวิเศษและเป็นที่มาของความน่ากังขา

ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจในสมัยโบราณก็ต่างกันออกไปตามแต่ภูมิภาคและยุคสมัย และความกลัวนัยน์ตาปีศาจก็รุนแรงไม่เท่าเทียมกันไปทุกมุมเมืองในจักรวรรดิโรมัน บางท้องที่ก็อาจจมีความหวาดกลัวที่สูงกว่าท้องที่อื่น ในสมัยดรมันไม่แต่บุคคลเท่านั้นที่เชื่อกันว่าอาจจะเป็นผู้มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ และ อาจจะเป็นกลุ่มชนทั้งกลุ่ม โดยเฉพาะประชากรชาวพอนทัส หรือ ซิทเธียที่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มชนที่มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ

การเผยแพร่ของความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจไปทางตะวันออกเกิดขึ้นระหว่างการขยายอำนาจของ อเล็กซานเดอร์มหาราชที่เป็นการเผยแพร่ความเชื่อนี้และความเชื่อต่างๆ ของกรีกไปทั่วจักรวรรดิ

การเผยแพร่ความเชื่อ

ต้นไม้ที่เต็มไปด้วยนัยน์ตาปีศาจในคาพะโดเคียในตุรกี

ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจที่รุนแรงที่สุดอยู่ในบริเวณตะวันออกกลางแอฟริกาตะวันออกแอฟริกาตะวันตกอเมริกากลางเอเชียใต้เอเชียกลาง และ ยุโรป โดยเฉพาะในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ที่นอกจากนั้นแล้วก็ยังเผยแพร่ไปยังบริเวณอื่นที่รวมทั้งตอนเหนือของยุโรป โดยเฉพาะในบริเวณวัฒนธรรมเคลต์ และในอเมริกา ที่นำเข้าไปโดยนักอาณานิคมยุโรป และต่อมาผู้ย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานที่มาจากตะวันออกกลาง,แอฟริกาตะวันออกแอฟริกาตะวันตกอเมริกากลาง

ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจพบในบทเขียนของอิสลามที่ศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า “อิทธิพลของนัยน์ตาปีศาจเป็นเรื่องที่จริง…” นอกจากนั้นกิจการการขจัดนัยน์ตาปีศาจก็ยังเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายโดยมุสลิม เช่นแทนที่จะกล่าวชมความงามของเด็กโดยตรง ก็มักจะกล่าวว่า “ما شاء الل” ที่แปลว่า “ถ้าเป็นสิ่งพระเจ้าทรงมีพระสงค์” แทนที่ ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวว่าเป็นพรที่เป็นอำนาจของพระเจ้าที่ประทานให้บุคคลที่ได้รับการชื่นชม นอกจากจะมีหลักฐานสนับสนุนในบทเขียนของอิสลามแล้ว ก็ยังมีความเชื่ออื่นๆ ในเรื่องนัยน์ตาปีศาจที่ไม่มีหลักฐานยืนยันที่พบในศาสนาพื้นบ้านที่มักจะเกี่ยวกับการใช้เครื่องรางในการป้องกันจากภัยที่อาจจะประสบ

แม้ว่าความคิดในเรื่องการจ้องมองแทบจะไม่พบในสังคมเอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ความเชื่อเรื่องการ Usog ในฟิลิปปินส์ถือเป็นข้อยกเว้น

ชาวยิวอัชเคนาซิในยุโรปและสหรัฐอเมริกา มักจะอุทานว่า “Keyn aynhoreh” (ไทย: ไม่เอานัยน์ตาปีศาจ) ในภาษายิดิช เพื่อเป็นการป้องกันจากการสาปแช่งหลังจากที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับคำชมโดยไม่ทันคิด หรือ หลังจากการประกาศข่าวดี

ในบริเวณภูมิภาคอีเจียน และอื่นๆ ที่ผู้มีตาสีอ่อนน้อย ก็เป็นที่เชื่อกันว่าผู้ที่มีตาสีเขียวเป็นผู้มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจไม่ว่าจะโดยการจงใจหรือไม่จงใจก็ตาม ความเชื่อนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากการที่ผู้คนจากต่างวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นกับความเชื่อดังกล่าว เช่นผู้คนจากทางเหนือของยุโรป อาจจะปฏิบัติในสิ่งที่ขัดกับประเพณีท้องถิ่นในการจ้องมองหรือการชมความงามของเด็ก ฉะนั้นในกรีซและตุรกีเครื่องรางที่ใช้ในการต่อต้านอำนาจของนัยน์ตาปีศาจจึงเป็นตาสีฟ้า

สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อในเรื่องของอำนาจของนัยน์ตาปีศาจ คำเปรยเช่น “to give someone the evil eye” จึงมักจะมีความหมายเพียงว่าเป็นการจ้องมองด้วยความโกรธหรือความเดียดฉันท์เท่านั้น

ยันต์และการแก้

การพยายามที่จะป้องกันจากนัยน์ตาปีศาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้เครื่องรางกันหลายวัฒนธรรม เครื่องรางประเภทนี้จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “apotropaic” (ที่มาจากภาษากรีกว่า “prophylactic” หรือ “ป้องกัน”) ที่แปลตรงตัวว่าเครื่องรางที่ “หันเหไปทางอื่น” หรือปัดอันตรายไปทางอื่น

สิ่งที่ง่ายที่สุดในการป้องกันในประเทศยุโรปที่เป็นคริสเตียนคือกาทำสัญญาณกางเขนด้วยนิ้วมือไปยังแหล่งที่มาของอันตราย หรือ ผู้โดยอันตรายที่บรรยายในบทแรกของนวนิยายเรื่อง “แดรคคิวลา” โดยแบรม สโตเคอร์ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1897:

เมื่อเราเริ่ม ฝูงชนรอบประตูโรงเตี๊ยมซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่พอควร และต่างคนก็ทำสัญญาณกางเขน และชี้นิ้วมายังข้าพเจ้า ข้าพเจ้าถามเพื่อนผู้โดยสารให้ช่วยอธิบายอย่างขลุกขลักว่าหมายความว่าอย่างไร ซึ่งก็ไม่ได้ตอบทันที แต่เมื่อทราบว่าข้าพเจ้าเป็นคนอังกฤษ จึงได้อธิบายว่าเป็นการแสดงสัญญาณเพื่อกันจากนัยน์ตาปีศาจ[8]

แป้นหรือลูกกลมที่เป็นวงน้ำเงินรอบวงกลมขาว ที่รอบนอกมักจะเป็นสีน้ำเงินเข้ม ตามด้วยสีน้ำเงินอ่อน, ขาว และ น้ำเงินเข้ม เป็นสัญลักษณ์ของนัยน์ตาปีศาจที่เป็นที่นิยมใช้เป็นยันต์ในตะวันออกกลางที่อาจจะพบที่หัวเรือในเรือที่ใช้ในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและที่อื่นๆ ตามตำนานแล้วตายันต์ที่จ้องเป็นสิ่งที่หันเหนการจ้องด้วยความประสงค์ร้ายกลับไปยังผู้จ้อง

เครื่องยันต์ดังกล่าวเรียกว่า “nazar” (ตุรกี: nazar boncuğu หรือ nazarlık) ที่จะเป็นเครื่องยันต์ที่เห็นกันอย่างแพร่หลายในตุรกี ที่จะพบในหรือหน้าบ้าน หรือบนรถยนต์ หรือสวมใส่เป็นสร้อยลูกปัด

ตาสีฟ้าอาจจะพบในรูปแบบอื่นเช่น “มือฮัมซา” ซึ่งมีรูปร่างเป็นมือที่มีตาอยู่บนฝ่ามือที่พบในตะวันออกกลาง นอกจากนั้นคำว่า “hamsa” อาจจะสะกดเป็น “khamsa” หรือ “hamesh” คือ “ห้า” ที่หมายถึงนิ้วห้านิ้ว ในฆราวัสวัฒนธรรมของชาวยิว ฮัมซาเรียกว่า “มือของมิเรียม” และในวัฒนธรรมมุสลิมเรียกว่า “มือของฟาติมะห์”

กรีซ

นัยน์ตาปีศาจในภาษากรีกเรียกว่า “ματι” ที่ใช้เป็นเครื่องยันต์มาตั้งแต่อย่างน้อยก็ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช ที่พบเสมอบนภาชนะสำหรับดื่มในกรีซนัยน์ตาปีศาจถูกกำจัดโดย “ξεμάτιασμα” (“xematiasma”) โดยผู้ทำการจะท่องมนต์คาถาลับที่ได้มาจากญาติโยมอาวุโสเพศตรงข้ามที่มักจะเป็นปู่ย่า คาถาจะได้รับก็เมื่อมีสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงเกิดขึ้น เพราะผู้ที่ถ่ายทอดคาถาเมื่อถ่ายทอดแล้วตนเองก็จะหมดอำนาจในการขจัดภัยจากนัยน์ตาปีศาจ

คาถาเหล่านี้ก็แตกต่างกันไปตามแต่ท้องถิ่น แต่บทที่นิยมใช้กันก็จะเป็นคาถาที่อ้างถึงพระแม่มารี ที่ท่องสามครั้ง กล่าวกันว่าถ้าผู้ใดถูกมนต์ของนัยน์ตาปีศาจเข้าทั้งผู้ถูกมนต์และผู้รักษาก็จะมีอาการหาวอย่างต่อเนื่องกัน ผู้รักษาก็จะทำสัณญาณกางเขนสามครั้ง และ ถุยน้ำลายขึ้นไปสามครั้ง

การ “ทดสอบ” อีกอย่างหนึ่งคือการเช็คคือการเช็คน้ำมัน ตามปกติแล้วน้ำมันมะกอกจะลอยในน้ำเพราะน้ำมันเบากว่าน้ำ การทดสอบก็ทำได้โดยเอาน้ำมันหยดหนึ่งใส่ลงไปในแก้วน้ำโดยเฉพาะน้ำมนต์ ถ้าหยดน้ำมันลอยก็แปลว่าไม่ได้ถูกมนต์จากนัยน์ตาปีศาจ แต่ถ้าน้ำมันไม่ลอยขึ้นมาก็แปลว่าต้องมนต์ อีกวิธีหนึ่งเอาน้ำมันสองหยดใส่ลงไปในแก้วน้ำแยกกัน ถ้าน้ำมันทั้งสองหยดยังคงไม่มารวมกันก็แปลว่าน้ำมันนั้นไม่ต้องมนต์ แต่ถ้ามารวมกันเป็นหยดเดียวกันก็แปลว่าต้องมนต์ การทดลองนี้มักจะทำกับผู้สูงอายุที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้มีอำนาจในการรักษา

คริสต์ศาสนปราชญ์ของกรีกยอมรับความเชื่อเรื่องนัยน์ตาปีศาจเกี่ยวกับปีศาจ และ ความอิจฉา ในเทววิทยาของกรีกนัยน์ตาปีศาจ หรือ “βασκανία” (vaskania) ถือว่าเป็นสิ่งที่มีอันตรายต่อผู้ที่แสดงใช้ความอิจฉาในการสร้างอันตรายต่อผู้อื่นนอกไปจากผู้ที่ถูกต้องมนต์เอง ลัทธิกรีกออร์โธด็อกซ์มีบทสวดมนต์สำหรับป้องกันจาก “βασκανία”จากหนังสือสวดมนต์ อ “Μέγαν Ιερόν Συνέκδημον” (Mega Hieron Syenekdymon).

โรม

มือฮัมซา คือ ยันต์ที่ใช้ในการป้องกันนัยน์ตาปีศาจ

ในสมัยโรมันโบราณมีผู้ที่เชื่อว่าเครื่องรางองคชาต และ สิ่งตกแต่งเป็นสิ่งที่ใช้กันนัยน์ตาปีศาจ เครื่องรางดังกล่าวในภาษาละตินเรียกว่า “Fascinus” หรือ “หน่อองคชาต” ที่มาจากคำกิริยา “Fascinare” (ต้นรากของคำว่า “Fascinate” ในภาษาอังกฤษ) ที่แปลว่า “แช่งชัก” เช่นเดียวการใช้นัยน์ตาปีศาจ

ตัวอย่างหนึ่งของเครื่องรางดังกล่าวก็ได้แก่ “เครื่องรางคอร์นิเชลโล” (cornicello) ที่แปลตรงตัวว่า “เขาเล็ก” ในภาษาอิตาลีสมัยใหม่เรียกว่า “Cornetti” หรือบางที่ก็เรียกว่า “Cornuto” หรือ “Corno” ที่ต่างก็แปลว่าเขา ซึ่งเป็นเครื่องรางรูปเขาที่บิดม้วนเล็กน้อย เครื่องรางคอร์นิเชลโลมักจะแกะจากปะการังสีแดงหรือจากเงินหรือทอง เขาที่ใช้เป็นทรงที่เลียนแบบเขาแกะหรือแพะ แต่อันที่จริงแล้วบิดเหมือนเขาละมั่งแอฟริกาหรือสัตว์ตระกูลเดียวกันมากกว่า

ในบรรดาชนชาติในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนที่ไม่ใช้เครื่องยันต์ที่เป็นองค์ชาติก็อาจจะใช้สัญลักษณ์ที่ทำด้วยมือแทนโดยการชูนิ้วชี้และนิ้วก้อย ในลาตินอเมริกางานสลักของกำมือที่หัวแม่มือกดระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลางก็ยังใช้เป็นเครื่องรางนำโชคกันอยู่

ในหนังสือ “A History of Oral Interpretation” (ประวัติของการตีความหมาย) โดยยูจีน บาห์น และ มาร์กาเร็ต แอล. บาห์นกล่าวว่า “’วัตถุประสงค์สำคัญของคำพูดคือการพิทักษ์จากนัยน์ตาปีศาจ และแม้ในปัจจุบันก็ยังคงมีบทขับสำหรับป้องกันจากความโชคร้ายในสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง” ที่มีสาเหตุมาจาก “อุปกรณ์เพื่อยับยั้งความอิจฉาของจิตวิญญาณที่มีอำนาจเหนือชะตาของมนุษย์. . .”

ศาสนายูดาย

“นัยน์ตาปีศาจ” ได้รับการกล่าวถึงหลายครั้งใน “Ethics of Our Fathers” (หลักจริยธรรมของบรรพบุรุษ) โดย Pirkei Avot ในบทที่ 2 กล่าวถึงลูกศิษย์ห้าคนของราไบโยคานัน เบน ซาไคที่ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในแนวทางที่ดีและเลี่ยงการทำความชั่ว ราไบเอลิเอเซอร์กล่าวว่านัยน์ตาปีศาจเลวร้ายกว่าเพื่อน หรือ เพื่อนบ้านที่เลว หรือ ผู้ประสงค์ร้าย ศาสนายูดายเชื่อว่า “ตาดี” เป็นตาที่ส่งความประสงค์ดีและความกรุณาต่อผู้อื่น ผู้ที่มีทัศนคติดังกล่าวจะมีความสุขกับการได้ดีของผู้อื่น และเป็นผู้มีความประสงค์ดีต่อเพื่อนมนุษย์ ส่วน “นัยน์ตาปีศาจ” เป็นทัศนคติตรงกันข้าม ผู้ที่เป็นเจ้าของ “นัยน์ตาปีศาจ” นอกจากจะเป็นผู้ที่มีแต่ความทุกข์และจะมีความทุกข์ทรมานเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี แต่จะมีความสุขเมื่อเห็นผู้ใดประสบเคราะห์ ผู้ที่มีบุคลิกดังกล่าวเป็นอันตรายต่อความบริสุทธิ์ของจริยธรรมของคนทั่วไป นี่คือทัศนคติโดยทั่วไปของศาสนายูดายเกี่ยวกับ “นัยน์ตาปีศาจ” ผู้ที่มีความเชื่อในคาบาลาห์หรือตำนานความเชื่อเรื่องลึกลับของยิวเชื่อว่าการใช้ด้ายแดงจะช่วยกันภัยจาก “นัยน์ตาปีศาจ” และกล่าวกันว่าการเห็นด้ายแดงตัดกับสีผิวก็ควรจะเป็นเครื่องเตือนเกี่ยวกับบทเรียนของเรเชล และสนับสนุนให้เราประพฤติตัวในวิถีทางที่จะนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ชีวิตในทางที่ถูกที่ควร

อินเดีย

อินเดีย “นัยน์ตาปีศาจ” ที่เรียกว่า “drishtidosham” (แปลตรงตัวว่า “ตาแช่ง”) หรือ “nazar” เป็นตาที่ถอดจาก “Aarti” กระบวนการถอดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แล้วแต่ผู้ถูกถอด ถ้าเป็นการถอด “นัยน์ตาปีศาจ” ของมนุษย์ก็จะมีการทำพิธีไฟศักดิ์สิทธิ์บนถาดตามประเพณีฮินดู โดยการวนถาดหน้าผู้นั้นเพื่อดึงความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นออกจากผู้นั้น บางครั้งผู้ถูกแก้มนต์ก็อาจจะต้องถ่มน้ำลายลงบนกองพริกบนถาด แล้วเอาไปโยนเข้ากองไฟ ถ้ามีควันขึ้นมามากผู้นั้นก็จะถูกเย้ยหยันและจะไม่มีใครจ้องด้วยนัยน์ตาปีศาจได้ แต่ถ้าไม่มีควัน ผู้นั้นก็จะปลอดจาก “นัยน์ตาปีศาจ” แต่ถ้าเป็นยานพาหนะก็จะใช้มะนาวแทนพริก โดยให้รถแล่นทับมะนาวจนแตกเละ แล้วเอามะนาวลูกใหม่แขวนไว้กับพริกเพื่อกัน “นัยน์ตาปีศาจ” ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต การแขวนดังกล่าวอาจจะพบในร้านค้าหรือบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ที่มักจะแขวนกันตรงประตู เจ้าของร้านชาวอินเดียบางคนก็อาจจะเผากระดาษหนังสือพิมพ์แล้วโบกเวียนก่อนที่จะปิดร้านกลับบ้าน

นอกจากตั้นก็อาจจะมีการใช้แป้งสีคุมคุมบนแก้คู่บ่าวสาวหรือเด็กก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการขจัดอำนาจของ “นัยน์ตาปีศาจ” ทารกหรือเด็กโดยทั่วไปจะถือว่ามีความบริสุทธิ์และจะดึงดูด “นัยน์ตาปีศาจ” แม่จึงมักแต้มจุดบนแก้มหรือหน้าผากของเด็กเพื่อให้เป็นตำหนิที่กันจาก “นัยน์ตาปีศาจ” หรืออาจจะผูกสายด้ายสีดำรอบเอวเด็กเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน บางครั้งก็อาจจะแขวนห้อยหรือเครื่องรางบนสายคาดเอ็วด้วยก็ได้

 

อิสลาม

ตามธรรมเนียมมุสลิมบางอย่างถ้าจะมีการเยินยอกัน ผู้ทำการเยินยอก็จะใช้คำว่า “ما شاء الله”(Masha’Allah) ที่แปลว่า “ถ้าเป็นสิ่งพระเจ้าทรงมีพระสงค์” เพื่อกันจากอันตรายของ “นัยน์ตาปีศาจ” ซึ่งหมายความว่าสิ่งที่ดีหรือร้ายที่จะเกิดขึ้นก็ขึ้นอยู่กับพระประสงค์ของพระเจ้า ผู้พูดภาษาดารีในอัฟกานิสถานใช้วลี “Nam-e Khoda” ที่แปลว่า “ในนามของพระเจ้า” แทน “ما شاء الله” หรือ “Chashmi bad dur” ที่แปลว่า “ขอให้ “นัยน์ตาปีศาจ” ไปอยู่ไกลๆ” และในภาษาอูรดูหรือในภาษาทาจิคที่เพี้ยนไปเล็กน้อย

ตุรกี

ดูบทความหลักที่ Evil eye in Turkish Culture

เรือบินตุรกีที่มี “Nazar boncuğu” หรือ “นัยน์ตาปีศาจ”

ในตุรกี เครื่องประดับ “นัยน์ตาปีศาจ” และ ของกระจุกกระจิกเป็นที่มีกันแพร่หลาย ประคำหลากสี, กำไล, สร้อยคอ, กำไลข้อเท้า และ เครื่องตกแต่งอื่นๆ ต่างก็ใช้สัญลักษณ์ “นัยน์ตาปีศาจ” ในการตกแต่งที่รวมทั้งเรือบิน

บังกลาเทศ

เด็กในบังกลาเทศมักจะมีจุดดำบนหน้าผากเพื่อกันจากความชั่งร้ายของ “นัยน์ตาปีศาจ” เด็กหญิงที่มักจะได้คำชมว่าสวยมักจะมีจุดดำหลังใบหู เพื่อไม่ให้ใครเห็น

อิหร่านและภูมิภาคเพื่อนบ้าน

อิหร่านอิรักทาจิกิสถาน และ อัฟกานิสถานจะเผาต้นฮาร์มาล (Peganum harmala หรือเรียกว่าเอสฟานด์ หรือ เอสพันด์ด้วยถ่าน ที่เมื่อปะทุก็จะโชยควันหอมที่ใช้โบกเหนือศีรษะผู้ที่ต้องสงสัยว่าโดนมนต์ หรือโดนจ้องโดยคนแปลกหน้า จากนั้นก็จะท่องบทสวดมนต์โซโรอัสเตอร์ขจัด “Bla Band” บทสวดมนต์ดังกล่าวท่องโดยทั้งมุสลิมและผู้ถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ในบริเวณที่มีการใช้เอสฟานด์ในการขจัดความชั่วร้าย ในอิหร่านบางครั้งก็จะมีการทำพิธีนี้ในภัตตาคาร ที่ลูกค้าอาจจะถูกจ้องโดยคนแปลกหน้า บางครั้งก็จะมีการใช้เอสฟานด์แห้งในบางบริเวณในตุรกี

ทิเบตและภูมิภาคหิมาลัย

ลูกปัดซีของทิเบต

ในทิเบตและบริเวณใกล้เคียงลูกปัดซี (Dzi bead) ถือกันว่าเป็นเครื่องรางในการขจัดภัยจาก “นัยน์ตาปีศาจ” และเป็นเครื่องรางที่นำโชค ขึ้นอยู่กับลวดลายและจำนวนตา ลูกปัดซีโบราณเป็นลูกปัดที่มีราคาสูงที่สุดเท่าที่ทราบกันมา หินซีเริ่มปรากฏขึ้นราว 2000 ถึง 1000 ปีก่อนคริสต์ศักราชในทิเบตโบราณ กล่าวกันว่าลูกปัดหลาแสนลูกถูกนำกลับมาโดยนักรบทิเบตจากภูมิภาคบัคเทรียเหนือเทือกเขาฮินดูกูชหรือทาจิกิสถานโบราณระหว่างที่ไปทำการปล้นรบ หรือ ต่อมายึดครอง ความกลัวอำนาจของ “นัยน์ตาปีศาจ” เป็นเรื่องที่จริงจังในหมู่ชนทิเบต ซึ่งทำให้เกิดการสร้างเครื่องรางในการป้องกันภัยอันเกิดจากอำนาจของ “นัยน์ตาปีศาจ” ขึ้นที่เป็นรูปตาเช่นกัน ลูกปัดซีสร้างด้วยโมราตกแต่งด้วยเส้นและวงโดยใช้วิธีโบราณอันเป็นเอกลักษณ์ เช่นทำสีให้เข้มขึ้นโดยการใช้น้ำตาลพืช และ ทำให้ร้อนและลอกให้สีอ่อนลง และเส้นตัดสีขาวทำด้วยนาทรอนโบราณ หรือด่างชนิดอื่น บางส่วนก็ทิ้งเอาไว้โดยไม่ก็ใช้ไขมัน, ดินเหนียว, ขี้ผึ้ง หรือ สารประเภทดังกล่าว วิธีการทำในสมัยโบราณได้แต่เพียงสันนิษฐานกันเท่านั้น

ลูกปัดซีมีด้วยกันสองหรือสามชนิด ชนิดหนึ่งมีเส้นของและ “ตา” และที่มีตาตามธรรมชาติของหิน ลูกปัดซีมักจะมีทรงกลมรีแต่ก็มีบ้างที่เป็นรูปเหรียญ

ลาตินอเมริกา

ในเม็กซิโก และ อเมริกากลาง ทารกจะมีอัตราเสี่ยงต่ออันตรายจาก “นัยน์ตาปีศาจ” สูงและมักจะให้ใส่กำไลเครื่องรางเพื่อพิทักษ์ โดยเฉพาะที่มีจุดเหมือนตา วิธีป้องกันอีกวิธีหนึ่งคือให้ผู้ชื่นชมกับเด็กได้จับต้องตัวเด็ก

วิธีรักษาอีกวิธีหนึ่งในเม็กซิโกก็โดย “curandero” (พ่อมด) จะลูบตัวผู้ต้องมนต์ด้วยฟองไข่ไก่ดิบเพื่อกำจัดอำนาจของผู้ที่มีอำนาจในการใช้ “นัยน์ตาปีศาจ” แล้วก็เอาไข่ไก่ไปทุบใส่ชามแก้วเพื่อตรวจสอบรูปร่าง รูปทรงไข่แดงเชื่อกันว่าสามารถบอกได้ว่าผู้มีเวทมนตร์เป็นชายหรือหญิง ตามธรรมเนียมฮิสปานิคของทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และบางส่วนของเม็กซิโก เมื่อลูบตัวเสร็จ ผู้ต้องมนต์ก็จะตอกไข่ในชามน้ำ แล้วคลุมด้วยฟาง เอาไปวางไว้ใต้หัวของคนไข้ขณะที่ยังคงหลับ หรืออาจจะให้ไข่กลับโดยการทำเป็นเครื่องหมายกางเขน จากนั้นก็จะทำการตรวจตราใข่ในชามเพื่อจะดูว่าสำเร็จไปได้แค่ไหนเท่าใด

ในบางส่วนของอเมริกาใต้ การทำ “Ojear” หรือที่แปลว่า “ก่ออันตรายโดยนัยน์ตาปีศาจ” ให้กับเด็ก, สัตว์โดยการจ้อง การกระทำเช่นนี้อาจจะก่อให้เกิดความเจ็บป่วย หรือการใช้งานไม่ได้ถ้าเป็นสิ่งของหรือยานยนตร์ นอกจากนั้นแล้วก็ยังเชื่อกันว่า “การจ้อง” เป็นการกระทำโดยไม่จงใจ ฉะนั้นการป้องกันก็อาจจะทำได้โดยการผูกริบบอนสีแดงกับสัตว์, เด็ก หรือสิ่งของ เพื่อหันเหความสนใจให้ไปจ้องริบบอนแทน

บราซิล

ในบราซิลสิ่งที่คล้ายคลึงกับ “นัยน์ตาปีศาจ” คือ “olho gordo” (แปลง่ายๆ ว่า “ตาโต”) เชื่อกันว่าเมื่อถ้าผู้ใดชมสิ่งของที่เป็นของผู้อื่น เจ้าของก็ควรจะระมัดระวังว่าผู้ชมคือใคร ถ้าการชมเป็นไปด้วยความประสงค์ดีก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามสิ่งของนั้นก็อาจจะตกไปเป็นของผู้นั้นหรือสูญหายไป ถ้าสิ่งของได้รับความเสียหายในอนาคตก็เชื่อกันว่าเกิดจากการกระทำของผู้ที่มีความอิจฉาผู้กล่าวชมสิ่งของนั้น

สหรัฐอเมริกา

ในปี ค.ศ. 1946 นักมายากลเฮนรี กามาชีตีพิมพ์หนังสือชื่อ “Terrors of the Evil Eye Exposed!” (เผยความกลัว “นัยน์ตาปีศาจ”!) ที่บอกวิธีป้องกันตนเองจาก “นัยน์ตาปีศาจ” งานเขียนของกามาชีเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง “นัยน์ตาปีศาจ” แก่นักปฏิบัติวูดูแอฟริกันอเมริกันทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา

อียิปต์

นัยนาของโฮรัส – โฮรัสเป็นเทพแห่งท้องฟ้าของอียิปต์โบราณที่มาในรูปของเหยี่ยว ตาขวาเป็นสัญลักษณ์ของตาเหยี่ยวและเครื่องหมายรอบตา ที่บางครั้งก็จะรวมทั้งรอยน้ำตาใต้ตา ตาขวาของโฮรัสตามความเชื่อของวัฒนธรรมอียิปต์โบราณเชื่อกันว่ามีอำนาจในการป้องกันอันตรายจาก “นัยน์ตาปีศาจ” ในอียิปต์สมัยใหม่ก็จะใช้เครื่องรางเช่น “มือฮัมซา” ในการป้องกัน

สำหรับนุทเองใส่เพื่อความสวยงามและก็แอบมีความเชื่อสักเล็กน้อย ซึ่งถ้าเพื่อนๆสนใจอยากหามาใส่ตอนนี้ก็มีหลากหลายเลยนะคะ ทั้งแหวน สร้อยข้อมือ สร้อยคอ ตุ้มหู ของแบบนี้ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่เนอะ มันอาจช่วยคุณได้จริงๆก็เป็นได้นะคะ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย คลังสมองของโลกจริงๆเลยคะ ถ้าเพื่อนๆสนใจเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่  http://en.wikipedia.org/wiki/Evil_eye

Loading Facebook Comments ...

7 Comments

Leave a Reply to tikyon Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *