กลุ่มทรูขอร่วมดูแลไทยเพื่อก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน โดยร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยบริษัทสตาร์ทอัพHG Robotics และ Obodroid ภายใต้โครงการCU-RoboCovid
ติดตั้งหุ่นยนต์ขนส่งอัจฉริยะระบบคลาวด์ผ่าน True5G อำนวยความสะดวกบุคลากรทางการแพทย์ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้เครือข่ายTrue5G ควบคุมการเชื่อมต่อหุ่นยนต์ขนส่งอัจฉริยะ (Quarantine Delivery Robot) ผ่านระบบสื่อสารทางไกล (Quarantine Telepresence) รวมทั้งควบคุมรถเข็นได้จากระยะไกล (Remote Cart) เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดการเสี่ยงติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ซึ่งการพัฒนาและทดสอบหุ่นยนต์ขนส่งอัจฉริยะพร้อมอุปกรณ์ควบคุมของโครงการ CU-RoboCovid นี้ กลุ่มทรูได้ร่วมส่งมอบโซลูชั่นพร้อมซิม True 5G-Ready และอุปกรณ์รับสัญญาณ CPE 5G เพื่อเพิ่มศักยภาพในการควบคุมทางไกลและเพิ่มความแม่นยำในการทำงานของหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานที่จะแบ่งเบาภาระการปฎิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี
นายพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ หัวหน้าคณะทำงานและกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่นกล่าวว่า “ในสถานการณ์โควิด-19 ครั้งนี้ ทุกคนต่างตระหนักดีว่า บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้เสียสละ และเป็นกำลังสำคัญที่สุดในการดูแลรักษาผู้ป่วย กลุ่มทรูในฐานะหนึ่งในบริษัทไทยที่มีความพร้อมเป็นผู้ให้ บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของไทย มิได้นิ่งนอนใจ นอกเหนือจากการส่งกำลังใจและอุปกรณ์สื่อสารต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังได้นำศักยภาพเทคโนโลยี True5G เครือข่ายอัจฉริยะของกลุ่มทรู เข้าร่วมพัฒนากับพันธมิตรเพื่อหาทางสนับสนุนการปฎิบัติงานภายในโรงพยาบาลให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น โดยได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยบริษัทสตาร์ทอัพ HG Robotics และ Obodroid ภายใต้โครงการ CU-RoboCovidพัฒนาหุ่นยนต์ขนส่งอัจฉริยะ ควบคุมผ่านเครือข่าย True5G ซึ่งมีจุดเด่นทั้งเรื่องของศักยภาพความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลากหลาย ทำให้เพิ่มความแม่นยำในการควบคุม และมีประสิทธิภาพสูงในการเชื่อมต่อกับหุ่นยนต์ขนส่ง(Quarantine Delivery Robot) ระบบสื่อสารทางไกล (Quarantine Telepresence) และรถเข็นควบคุมจากระยะไกล (Remote Cart) ซึ่งทำให้แพทย์และพยาบาลสามารถปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยได้จากระยะไกล โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปใกล้กับผู้ป่วย ลดความเสี่ยงติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ ในขณะเดียวกันก็สามารถดูแลคนไข้ได้อย่างทั่วถึง สร้างความอุ่นใจให้กับคนไข้ที่มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลตลอดเวลา และสามารถเรียกหาได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยแบ่งเบาภาระ และยกระดับความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้หุ่นยนต์และระบบสื่อสารทางไกลดังกล่าว ได้นำไปใช้งานจริงแล้ว ณ ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลรามาจักรีนฤบดินทร และโรงพยาบาลสนาม วชิระภูเก็ตที่อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้ง”
ดร.มหิศร ว่องผาติ ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง (CEO/Co-Founder) บริษัท เอชจี โรโบติกส์จำกัด กล่าวว่า “เราได้พิสูจน์การใช้งานเครือข่ายของทรูมาแล้วจากการใช้ TigerDrone ที่มีจำหน่ายไปทั่วประเทศซึ่งส่งข้อมูลการทำงานด้วยทรูมูฟ เอช 4G เราเชื่อว่าเครือข่ายTrue5G จะเป็นตัวเลือกที่มั่นใจได้ในสถานการณ์โควิด-19 และการทดสอบในช่วงแรกก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสามารถใช้งานได้ดี”
รายละเอียดการทำงานของหุ่นยนต์ขนส่ง(Quarantine Delivery Robot)• หุ่นยนต์ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ที่จำเป็น พร้อมระบบสื่อสารทางไกล Telepresence ที่จะเข้ามาช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ลดอัตราการใช้อุปกรณ์การแพทย์จากการถอดเปลี่ยนชุดทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนโซนการรักษาที่มีความเสี่ยง รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแพทย์
ระบบสื่อสารทางไกล (QuarantineTelepresence)
เทคโนโลยีการสื่อสารทางไกล Telepresence ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ แท็บเล็ตจากฝั่ง
ของเจ้าหน้าที่ และแท็บเล็ตจากฝั่งคนไข้ เชื่อมต่อกันด้วยโปรแกรมที่ทางทีมได้พัฒนาขึ้น ผ่านเครือข่ายTrue 5G สื่อสารได้รวดเร็ว สอดส่องอาการได้ง่าย ชัดเจน • รถเข็นควบคุมจากระยะไกล (Remote Cart)
รถเข็นที่พัฒนามาเพื่อให้สามารถควบคุมจากระยะไกลได้ผ่านเครือข่ายTrue 5G สามารถนำมาใช้ในการขนส่งอาหาร ยาหรือ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ต่างๆ เคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ สามารถติดตั้งมาพร้อมกับแท็บเล็ตที่มีระบบสื่อสารทางไกล (Telepresence) บนรถเข็นเพิ่มความสามารถในการทำงานควบคู่กับการสื่อสารกับคนไข้ได้แบบ 2 ทาง โดยบุคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องเสี่ยงต่อการติดชื้อ สร้างความอุ่นใจทั้งบุคลากรและคนไข้ในสถานการณ์โควิด-19 ได้เป็นอย่างดี