“คิด ก่อน คลิก” Cybersecurity มหันตภัยปลายนิ้ว โดย กสทช. #NBTCdays

ได้มีโอกาสไปร่วมงาน “คิด ก่อน คลิก” Cybersecurity มหันตภัยปลายนิ้ว ซึ่งจัดขึ้นโดย กสทช. เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลโดยทั่วไป โดยเริ่มจัดงานวันที่ 25-27 ม.ค.56 ที่ Terminal 21 

ซึ่งภายในงานจะมีการให้ความรู้ เนื่องจากในปัจจุบัน smartphone และ tablet เป็นดั่งปัจจัยที่ขาดไม่ได้เลย ดังนั้นเมื่อการที่เราจะติดต่อสื่อสารผ่านโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้น ก็มักจะมีกลุ่มคนที่นำเอาช่องทางของความสะดวกสบายเหล่านี้มาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์  ยิ่งถ้าหากผู้ใช้งานไม่ระมัดระวัง หรือรู้เท่าไม่ถึงการก็อาจจะเป็นเหยื่อได้โดยง่าย

ซึ่งหลากหลายวิธีการที่เราพบเห็นแต่มักจะไม่รู้ว่านี่แหละคือ ช่องทางของมิจฉาชีพ ดังนั้นตามมาดูกันดีกว่าคะว่ามีอะไรบ้าง

Phishing หรือ ตกปลาออนไลน์ ซึ่งจะใช้เหยื่อล่อคือของรางวัลหรือหลอกให้เราตกใจว่าบัญชีของเรากำลังมีปัญหา เพื่อหลอกให้เรากรอกข้อมูลผู้ใช้งาน รหัสผ่าน จนถึงรหัสบัตรเครดิต ซึ่งผู้ใช้ smartphone มักจะมีความเสี่ยงต่อการถูก phishing ได้มากกกว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ถึง 3 เท่า

แนวทางการป้องกันและลดความเสี่ยง

  1. จำไว้เลยคะ ว่าไม่มีธนาคารใดๆเลยที่จะสอบถามข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลชื่อบัญชี และรหหัสผ่านทางอีเมลแน่นอน
  2. อย่าเปิดลิงค์ที่แนบมาในอีเมล เพราะมิจฉาชีพจะมีเทคนิคในการปลอมชื่อผู้ส่งให้เหมือนมาจากองค์กรนั้นจริงๆ
  3. อย่าดาวน์โหลด application ที่ผิดกฎหมายหรือไม่รู้ที่มาที่ไปชัดเจน เพราะอาจแฝงมาด้วยไวรัส
  4. ช่วยกันเตือนบุคคลใกล้ชิด

Social Media หรือ สังคมออนไลน์  ที่เราสามารถสื่อสารเรื่องราวต่างๆของเราไม่ว่าจะเป็น บทความ รูปภาพ วีดีโอ หรือ สถานที่เราอยู่ แก่ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายของเรา ผ่านทางเว็บไซด์ หรือแอพลิเคชั่นต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันเพียงเราคลิกในมือถือของเราข้อมูลก็จะกระจายไปทั่วโลก

เรื่องการแชท หรือคุยกับคนแปลกหน้าที่เราไม่รู้จักในอินเตอร์เนตผ่านแอพต่างๆ ก็อาจจะถูกล่อลวงกันได้ง่ายๆ ดั่งที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ไปทั่ว ว่านัดพบคนที่รู้จักกันในเนตแล้วถูกลวงไปข่มขืน ปล้นชิงทรัพย์ จนถึงฆาตกรรม

แนวทางป้องกันและลดความเสี่ยง

  1. อย่าบอกทุกสิ่ง แชร์ทุกอย่างมากเกินไป เช่น บ้านอยู่ไหน ไปไหน หรือทำอะไรอยู่
  2. พิจารณาในการรับคนเป็นเพื่อนว่าเหมาะสม วางใจและรู้จักกันจริงรึไม่
  3. อย่าโพสต์รูปต่างๆมากเกินไป โดยที่ไม่ได้คิดให้ดี ถึงผลกระทบที่อาจตามมาได้
  4. ไม่ควรกดเข้าไปในลิงค์เราเราไม่รู้จักหรือไม่แน่ใจ
  5. อย่า install ทุกแอพที่เห็นว่าฟรีทั้งที่ไม่มีความจำเป็น

Identity Theft หัวขโมยตัวตนออนไลน์ พวกนี้จะนำเอาข้อมูลของเราไปปลอมโดยส่วนใหญ่จะนำไปปลอมเป็นหลักฐานการเงิน พบว่า 62% ของผู็ใช้งานทาง smartphone ไม่ใส่รหัสผ่านหน้าจอแรกเข้า  และมีถึง 7% ของผู้ใช้ smartphone โดนมิจฉาชีพขโมยตัวตน

แนวทางป้องกันและวิธีลดความเสื่ยง

  1. กำหนดรหัสผ่านเข้าใช้มือถือและแท็บเล็ต
  2. ติดตั้งแอพที่คอยช่วยเหลือด้านความปลอดภัย เช่น สามารถ back up ข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ หรือ web server
  3. หากจะทำธุรกรรมหรือให้ข้อมูลสำคัญออนไลน์ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ
  4. อย่าให้เบอร์บัตรเครดิตหรือรหัสสำคัญใดๆเวลาคุยออนไลน์เด็ดขาด เพราะอาจมีมิจฉาชีพดักรอข้อมูลอยู่
  5. เอกสารสำคัญต่างๆ เช่น บัตรประชาชน บัตรประกันสังคม ทะเบียนบ้าน บัตรเครดิต ต้องฉีกทำลายก่อนทิ้งทุกครั้ง

Mobile Malware โปรแกรมตัวร้ายใน smartphone เป็นพวกไวรัส หรือโปรแกรมแปลกๆ ที่สร้างความเสียหายให้กับข้อมูลใน smartphone ของเรา

แนวทางป้องกันและวิธีลดความเสี่ยง

  1. เก็บรักษาโทรศัพท์มือถืออย่างใกล้ชิด
  2. ล็อกโทรศัพท์มือถือ ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลสำคัญ
  3. สำรองข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือไว้ในที่ปลอดภัย
  4. ไม่ควรเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญมากๆในมือถือ
  5. ปิดการเชื่อมต่อบูลทูธ เลี่ยงการเชื่อมต่อบลูทูธที่ไม่รู้จัก
  6. เลือกติดตั้งโปรแกรมในโทรศัพท์มือถือเท่าที่จำเป็นและมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้
  7. อัพเดทโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่ให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่อย่างสม่ำเสมอ
  8. แจ้งผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้องเมื่อโทรศัพท์สูญหาย เพื่อป้องกันความเสียหาย

และนี่ก็เป็นเพียงข้อมูลเล็กๆน้อยๆที่นุทนำมาจากงานเพื่อมาเผยแพร่ต่อให้เพื่อนๆได้รับทราบกัน และหวังงว่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆทุกๆคนด้วยนะคะ  อย่างไรก็ตามใช้ชีวิตอย่างมีสติ นั่นแหละที่สำคัญที่สุด

รูปสุดท้ายเก็บตกภายในงานกับหนุ่มหล่อโฬม ที่มาร่วมงานด้วยคะ

*Photo by Samsung Galaxy Camera

Loading Facebook Comments ...

1 Comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *