หัวเว่ยส่งมอบบริการด้านเทคโนโลยี AI การประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ (video conferencing) เครือข่ายสัญญาณไร้สาย และสมาร์ทโฟน ให้กับประเทศต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการช่วยผู้บริโภคต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งหัวเว่ยได้ร่วมมือกับอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย บังกลาเทศ และประเทศต่างๆ ในการแก้ปัญหาด้านการสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้แน่ใจว่า การเชื่อมต่อในประเทศดังกล่าวลื่นไหลไม่ติดขัดรวมถึงสนับสนุนบริการสาธารณูปโภคด้วยเทคโนโลยีระดับนวัตกรรมในช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่ของโควิด-19
ระบบสาธารณสุขถือเป็นแนวหน้าของการต่อสู้กับโรคระบาดในครั้งนี้ นวัตกรรมการสื่อสารทางไกลเพื่อการแพทย์ (Telemedicine) ของหัวเว่ยได้พัฒนาการใช้งานในพื้นที่สำหรับ 4 สถานการณ์หลักในการต่อสู้กับโคโรนาไวรัสซึ่งได้แก่ การสตรีมสด (Live video streaming),การร่วมมือกันปฏิบัติงานผ่านทางไกล (Remote collaboration), การวินิจฉัยโรคทางไกล (Remote diagnosis) และการคุ้มครองทางไกล (Remote protection) โดยทั้งหมดนี้ใช้งานได้ในสถานการณ์จริงในหลายประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ในประเทศไทย โซลูชันวิดีโอ เทเลคอนเฟอเรนซ์แบบเรียลไทม์เพื่อการแพทย์ (Huawei Telemedicine Video Conferencing Solution)ของหัวเว่ยซึ่งได้รับการติดตั้งในโรงพยาบาลหลายแห่ง รวมถึงกรมควมคุมโรค ส่งผลให้รัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์สามารถป้องกันการแพร่ระบาด ร่วมกับหลายฝ่ายในการปฏิบัติงาน ปรึกษาหารือผ่านเครือข่ายออนไลน์ และฝึกอบรมแบบมีปฏิสัมพันธ์กันได้ ซึ่งไม่เพียงช่วยเสริมศักยภาพการวินิจฉัยโรคเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้กับทีมแพทย์ได้อย่างเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยได้ร่วมเป็นประธานในการเปิดตัวโซลูชัน 5G ของหัวเว่ย รวมถึงเทคโนโลยีผู้ช่วย AI เพื่อการรักษาและวินิจฉัยโควิด-19 ที่มาพร้อมกับการเชื่อมต่อความเร็วสูงและค่าความหน่วง (latency) ต่ำ ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศไทยในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เป็นอย่างมาก
ส่วนในประเทศฟิลิปปินส์ โรงพยาบาลและศูนย์แพทย์บาเกียว (Baguio General Hospital and Medical Center) ได้ติดตั้งโซลูชันคัดกรองผลตรวจ CT ด้วยผู้ช่วย AI (AI-assisted CT Screening) ของหัวเว่ย เพื่อช่วยแพทย์ตรวจหาผู้ป่วยโควิด-19
ในประเทศบังกลาเทศ กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการครอบครัว (Ministry of Health & Family Welfare) และศูนย์อำนวยการทั่วไปด้านสุขภาพและบริการ (Directorate General of Health and Services) ใช้ระบบการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ของหัวเว่ยเพื่อช่วยรัฐบาลรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาด เสริมประสิทธิภาพของการร่วมมือกันปฏิบัติงานผ่านทางไกล และลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับทีมแพทย์
นอกจากนี้ บริษัท 7-Network ของสิงคโปร์ ยังได้ใช้โซลูชันของ HUAWEI CLOUD เป็นแพลตฟอร์มบันทึกข้อมูลสุขภาพรายวันให้กับบรรดาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อีกด้วย
โซลูชันผู้ช่วย AI เพื่อการวินิจฉัยโรคของหัวเว่ย ซึ่งตั้งอยู่บนแพลตฟอร์มของ HUAWEI CLOUD ช่วยลดระยะเวลาการวินิจฉัยโรคได้เป็นอย่างมาก และทำให้สามารถระบุและยืนยันเคสผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ได้รวดเร็วขึ้น โดยระบุระยะของการติดเชื้อได้อย่างแม่นยำว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น ระยะลุกลาม หรือระยะรุนแรง จึงประหยัดเวลาในการรักษาและลดปริมาณเคสสะสมได้
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวโครงการ Anti-COVID-19 Partner Program ของ HUAWEI CLOUD ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนการต่อสู้กับโควิด-19 ซึ่งให้ความสำคัญกับ 5 สถานการณ์หลัก ได้แก่ การปฏิบัติงานทางไกล, การรองรับAI, การช่วยเหลือธุรกิจองค์กร, ด้านสาธารณสุขอัจฉริยะ และการศึกษาออนไลน์ โดยกลุ่มพาร์ทเนอร์ที่เข้าร่วมโครงการนี้ ไม่เพียงแต่ได้รับการสนับสนุนด้านธุรกิจ ด้านเทคโนโลยี และด้านการตลาดอย่างครบวงจรเท่านั้น แต่ยังได้รับโอกาสในการใช้บริการคลาวด์มูลค่ากว่า 30,000 ดอลลาร์สหรัฐโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ในด้านสาธารณสุข HUAWEI CLOUD มีแพลตฟอร์ม EIHealth ที่ประกอบด้วยบริการต่างๆ เช่น การตรวจหาจีโนมของไวรัส (viral genome) การทดสอบยาต่อต้านไวรัสด้วยกระบวนซิลิโคสกรีนนิ่ง (silico screening) และการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ผู้ช่วย AI วิเคราะห์ผลตรวจ CT scan
สำหรับด้านองค์กรธุรกิจ หัวเว่ยได้ส่งต่อความช่วยเหลือแก่กลุ่มองค์กรที่ต้องย้ายธุรกิจต่างๆไปสู่คลาวด์ เพื่อรองรับการปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดที่ยังดำเนินอยู่
ในด้านการศึกษา HUAWEI CLOUD ได้ร่วมงานกับพาร์ทเนอร์หลายรายในการส่งมอบบริการการศึกษาออนไลน์ให้แก่โรงเรียนและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง โดยบริษัทUlearning จากประเทศอินโดนีเซียได้ร่วมกับ HUAWEI CLOUD เพื่อเปิดตัวโซลูชันการศึกษาออนไลน์ ซึ่งได้นำไปปรับใช้กับมหาวิทยาลัยมูฮัมมาดียะห์ ยาการ์ตา (Muhammadiyah University of Jakarta)
เมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ยยังได้จัดกิจกรรมสัมมนาผ่านเว็บไซต์ webinar ร่วมกับ UNESCO IITE และ UNESCO ICHEI สำหรับการเรียนออนไลน์ของระดับอุดมศึกษา เพื่อเปิดตัวหลักสูตร Learn ON ที่ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี ICT รับมือในช่วงเหตุการณ์วิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ สร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนนักศึกษากลุ่มต่างๆ ในหลากหลายพื้นที่โดยคาดการณ์ว่าจะมีนักศึกษากว่า 50,000 คนที่จะได้รับการเรียนการสอนผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ด้วยตัวเอง (self-learning courses) และยังมีโครงการเปิดคอร์ส “เทรนผู้ฝึกสอน” อีกกว่า 100 ชั้นเรียน โดยจะฝึกอบรมครูผู้สอนจำนวนมากกว่า 1,500 คน ซึ่งจะเริ่มจากเดือนเมษายนไปจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 นี้