PU CHA (ภูชา) ชาผู่เอ่อร์ คิดจะดื่มชามันต้องได้ประโยชน์

ช่วงหลังเวลาทำงานมักจะชอบจิบชาร้อนๆเวลาทำงาน อันเนื่องมาจากการที่เราทำงานแต่ในห้องแอร์ มันเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยง่ายถ้าเราดื่มน้ำน้อย และถ้าจะให้ดีก็ควรดื่มน้ำอุ่นๆ แต่จะให้จิบน้ำร้อนทั้งวันก็ไม่ไหวนะคะ

นุทเลยเลือกที่จะดื่มชาเพราะเดี๋ยวนี้การดื่มชามันไม่ได้เป็นเพียงแค่การดื่มแต่จะเป็นการที่เราดื่มด่ำกับกลิ่นที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ และรสชาติของชาก็แตกต่างกันออกไป เมื่อได้รับเชิญไปงานเปิดตัวชาน้องใหม่ก็เลยไม่พลาดที่จะไปร่วมงาน

ภูชาได้นำชาผู่เอ่อร์มาเป็นวัตถุดิบ ซึ่ง ชาผู่เอ่อร์ (จีน: 普洱茶) เป็นชาที่ปลูกทางภาคใต้ของมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) ที่อำเภอผู่เอ่อร์ โดยชนชาติหยี ซึ่งเป็นชนชาติส่วนน้อยของมณฑลหยุนหนาน ชาผู่เอ่อร์ นับว่าเป็นชาที่ดังและมาแรงมากในปัจจุบัน เปรียบกันว่ามีราคาเท่ากับทองคำเลยทีเดียว ชาผู่เอ่อร์เป็นชาหมัก น้ำชามีสีดำ ผลิตมากจากชาพันธ์ใบใหญ่ยูนนานเท่านั้น ชาชนิดนี้ผู้ใดได้ดื่มเป็นครั้งแรกจะรู้สึกว่ามีกลิ่นแรงและรสชาติเข้มข้นมาก แต่เมื่อดื่มเป็นครั้งต่อ ๆ ไปจะรู้สึกติดใจจนลืมไม่ลง ชาผู่เอ่อร์มีกรรมวิธีการผลิดแบบโบราณโดยการหมักไว้ในเข่งตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่และรองด้วยใบตอง หมักแล้วอัดเป็นก้อนตั้งแต่ขนาดเท่าหัวแม่มือ ไปจนถึงขนาดเท่าโต๊ะกลม ๆ แล้วเก็บไว้ตั้งแต่ 1 ปี 5 ปี 10 ปี ไปจนถึง 20 ปี แล้วนำออกขาย

เมื่อ 2,100 ปีก่อน ได้มีการค้นพบใบชาและริเริ่มการปลูกชา ในเวลาต่อมา แต่ชาผู่เอ่อร์นั้น ได้มีประวัติความเป็นมาราวๆ 1,700 กว่าปี ถึงแม้ชาจะมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ชาทั้งหลายเหล่านี้ จะถูกจำแนกออก เป็น 4 ชนิดใหญ่ ตามวิธีการผลิต คือ

ชาชนิดไม่หมัก ซึ่งได้แก่ ชาเขียว ชาชนิดหมักตลอดการผลิต ได้แก่ ชาดำ ชาชนิดหมักช่วงระยะเวลาหนึ่งของการผลิต ได้แก่ ชาอูหลง ชาชนิดหมักช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วสามารถพัฒนาอายุด้วยการบ่ม ด้วยตัวของมันเอง ได้แก่ ชาผู่เอ่อร์

การผลิตชาผู่เอ่อร์ที่ลึกลับและน่าค้นหานั้น ก็คือ การนำใบชาเขียว ที่ตากแห้งแล้ว จากนั้นนำมาผ่าน กรรมวิธีการบ่มโดยวิธีธรรมชาติ หรือว่าโดยวิธีที่มนุษย์คิดค้นขึ้น เพียงระยะเวลา 800 ปี ชื่อเสียงของชาผู่เอ่อร์นั้น โด่งดังไปยังทั่วโลก จากทิศเหนือดังไปจนถึง รัสเซีย ตะวันตกไปยัง ยุโรป และอาหรับ ทิศตะวันออก ไปยัง ญี่ปุ่น ทิศใต้ไปยัง มาเลเซีย และประเทศสยาม (หรือไทยของเรานั่นเอง) เมื่อประมาณ 150 ปีก่อน ได้มีนักวิชาการ ชาวรัสเซีย ชื่อ Tolstoy ได้บรรยายถึง สรรพคุณของชาตัวหนึ่ง ซึ่งมีสรรพคุณที่น่าศึกษาและค้นคว้าลงในหนังสือ (WAR & PEACE) ว่าสามารถทำให้สร่างเมาได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้อีกด้วย ซึ่งก็คือ ชาผู่เอ่อร์นั่นเอง แม้แต่ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหลังคาโลก อย่าง ทิเบตนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นระดับสูง อย่าง ลามะ รวมถึง ประชาชนทั่วไป ได้มีคำกล่าวที่ว่า “ยอมแม้แต่ที่จะไม่ทานข้าว 3 มื้อ แต่ไม่ยอมที่จะขาดการดื่ม ชาผู่เอ่อร์ แม้แต่วันเดียว” ชาที่มีประวัติยาวนานต่อเนื่อง นับ ร้อยๆปี อย่างชาผู่เอ่อร์นั้น การขนส่งชา ก็จะมีการใช้ทั้งคนแบก และใช้รถม้าบรรทุกชา ไปส่งยังที่ต่างๆ ที่ห่างไกล จึงเป็นที่มา ของ “เส้นทางการเดินของรถม้าส่งชา ที่โด่งดัง” ด้วย ฉะนั้น

ไม่เพียงแต่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่ง ในชีวิตประจำวันของผู้คน อีกด้วย ประเทศอื่นๆ นั้น ก็มีการรับรู้และดื่มชาผู่เอ่อร์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว อาทิ ในฮ่องกง รู้จักชาผู่เอ่อร์มา มากกว่า 100 ปี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน รู้จักมา มากกว่า 50 ปี ไต้หวัน รู้จักมา ประมาณ 30 ปีและ มาเลเซีย มากกว่า 20 ปี เป็นต้น

ชาผู่เอ่อร์ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นก้อนอย่างที่เราเข้าใจเสมอไป แต่เนื่องการจากการอัดเป็นก้อนเป็นแผ่นนั้นในสมัยโบราณย่อมสะดวกกว่าในด้านการขนส่ง ปัจจุบันเราจึงเห็นเป็นก้อนเสียโดยมาก เพราะการรักษาวัฒนธรรมเดิมๆไว้นั่นเอง

ชวนกันดื่มชาเราก็ต้องรู้ถึงประโยชน์ของมันกันสักหน่อยคะว่าช่วยเรื่องอะไรบ้าง ลดคอเลสตอรอล น้ำตาล ลดความดัน รักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และลดเบาหวาน ลดอาการปวดศีรษะ ลดความเครียด บำรุงสมอง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ล้างสารพิษ ช่วยระบบขับถ่าย ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยยืดอายุผู้สูงวัย ต่อต้านความชรา แค่นี้ก็เยอะไปหมดแล้วคะ แต่ยังมีอีกเยอะเพื่อนๆลองหาดูกันนะคะ

สำหรับเพื่อนๆที่อยากลองชิมตอนนี้สามารถหาซื้อได้ที่ Family Mart หรือจะโทรสั่งก็ได้นะคะ เค้ามีบริการส่งด้วยถ้าสั่ง 1 ลังขึ้นไป

สำหรับเพื่อนๆหลายๆคนถ้ากลัวนะคะว่าชาตัวนี้จะหวานดั่งชาเขียวยี่ห้ออื่นๆต้องขอบอกเลยว่าไม่คะ ชาจะมีความหวานเล็กน้อย แถมในหนึ่งขวดให้พลังงานเพียง 120 Kcal เท่านั้น สำหรับผู้ลดน้ำหนักไม่ต้องเป็นห่วงเลยคะ

ถ้าเพื่อนๆสนใจเพิ่มเติมสามารถไปดูได้ที่ https://www.facebook.com/PUCHADRINK               

Loading Facebook Comments ...

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *